สถานีกรุงเทพ 102 ปี
สถานีกรุงเทพ 102 ปี
 15 Oct 2019   1021

สถานีกรุงเทพ 102 ปี "ถึงอีก 2 - 3 ปี เธอจะเปลี่ยนไป แต่ยังไงเราก็รักเธอเหมือนเดิม"

      สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่เรียกกันติดปากว่าหัวลำโพง เกิดขึ้นเมื่อปี 2439 เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ รร.สายปัญญา ริมคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมกับการเกิดขึ้นของทางรถไฟหลวงสายแรก

      เมื่อการให้บริการผ่านไประยะหนึ่ง สถานีรถไฟเริ่มคับแคบลงเพราะต้องรับทั้งรถโดยสารและรถสินค้า จึงได้มีการเริ่มสร้างอาคารหลังใหม่ให้มีความโอ่โถงขึ้นมากกว่าเดิม จุดที่สร้างอาคารใหม่อยู่ถัดลงไปทางทิศใต้จากอาคารหลังเดิม ตรงข้ามกับสถานีรถไฟหัวลำโพง (ทางรถไฟสายปากน้ำ) บริเวณจุดตัดของคลองผดุงกรุงเกษมและคลองหัวลำโพง

      20 ปีต่อมา ในวันที่ 25 มิถุนายน 2459 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพหลังใหม่ได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ

      อาคารที่มีเอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนเรเนสซองส์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ออกแบบโดย เมอร์สิเออร์ มาริโอ ตามัญโญ ชาวอิตาเลียน สถาปนิกหลวง

      สถานีรถไฟกรุงเทพนับเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน แม้แต่ในเพลงชาติ BNK48 ก็มีท่อนหนึ่งที่บอกไว้ว่า "หัวลำโพง หน้าวัดสุทัศน์มีเสาชิงช้า" นั่นทำให้เรารู้ได้ว่าสถานีรถไฟกรุงเทพหรือที่เราเรียกกันดาษดื่นว่าหัวลำโพงนั้นเป็น Landmark หนึ่งที่สำคัญ

      แม้ว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็น Major Terminal (สถานีหลัก) ของรถไฟไทย สถานีกรุงเทพอาจจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หัวลำโพง" และกลายเป็น Minor Station (สถานีรอง) ตามยุคสมัย แต่อย่างไรก็ตามสถานีกรุงเทพก็ได้เป็น Iconic ที่สำคัญของรถไฟไทยอย่างถาวร

 

อ่านเรื่องราวของเขาต่อได้ที่นี้

บทความนี้มาจากเพจ : ทีมนั่งรถไฟ กับนายแฮมมึน

แบ่งปัน :