เมื่อ “ห้องสมุด” กับ “โบราณสถาน” คือสิ่งเดียวกัน
เมื่อ “ห้องสมุด” กับ “โบราณสถาน” คือสิ่งเดียวกัน
 16 Oct 2019   1924

[TH]

 

เมื่อ “ห้องสมุด” กับ “โบราณสถาน” คือสิ่งเดียวกัน

 

การได้อ่านหนังสือในที่ที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการอ่านย่อมดีแน่ แต่การอ่านหนังสือในสถานที่ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีในฐานะโบราณสถานแห่งหนึ่งของชาตินั้น คงเป็นความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก

ณ ใจกลางกรุงปารีส ยังมี “จักรวาล” ห้องสมุดแห่งหนึ่ง ที่เราเรียกขานเช่นนี้ ก็เพราะที่นี่มีหอสมุดย่อยๆ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการเดียวกัน โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามศาสตร์และแขนงวิชา จักรวาลแห่งนี้มีชื่อว่า The Bibliothèque nationale de France (BnF) หรือหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศส หอสมุดย่อยแต่ละแห่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่ที่น่าสนใจกว่าเพื่อนคือ The Salle Labrouste ที่เรียกตามชื่อของสถาปนิกอ็องรี ลาบรูสต์ (Henri Labrouste, 1801-1875) ผู้ออกแบบตามบัญชาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ได้รับการบูรณะอย่างดี และยังคงมีรูปโฉมเดียวกับเมื่อครั้งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1868 ในปัจจุบัน หอสมุดลาบรูสต์เป็น “หอสมุดประวัติศาสตร์ศิลป์แห่งชาติของฝรั่งเศส” (Bibliothèque de Institut national d'histoire de l'art) ขนาด 400 ที่นั่ง ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้ามาอ่านหนังสือได้ฟรีเป็นเวลานานถึง 150 ปีแล้ว ภายในอัดแน่นไปด้วยหนังสือในศาสตร์การพิมพ์และการถ่ายภาพ ซึ่งมีตั้งแต่หลักทฤษฎีใหม่ล่าไปจนถึงตำราและสิ่งพิมพ์เชิงประวัติศาสตร์อายุนับร้อยปีที่หยิบอ่านได้อย่างเสรี

นอกจากคุณค่าของหนังสือที่ไม่อาจประเมินได้ สิ่งที่ทำให้ลาบรูสต์กลายเป็นหอสมุดในตำนานของปารีสก็คือสถาปัตยกรรมจากยุคกลางศตวรรษที่ 19 ที่อาจหาญใช้โครงเหล็กเพื่อทำเสาและยกเพดานให้สูงลิ่วขึ้นไปถึง 10 เมตร แต่งแต้มด้วยศิลปะนีโอคลาสสิก การออกแบบของอ็องรี ลาบรูสต์จึงเป็นการเบิกศักราชสู่ยุคอุตสาหกรรม ทั้งยังสะท้อนหลักคิดแบบเหตุผลนิยมและความสามารถในการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ
.
The Salle Labrouste (BnF Richellieu) 

Open from Tuesday-Sunday
58, rue de Richelieu, 75002 Paris
Metro: Lines 3 (Bourse),1 et 7 (Palais-Royal), 7 et 14 (Pyramides)
…………………….

 

[EN]


What if “historical site” and “library” unite?

 

Definitely, reading in a pleasant ambience is fine, but what about reading in a library listed as one of national historical sites?

Right in the heart of Paris, a “universe” of reading has been there for more than a century. The Bibliothèque nationale de France (BnF), or France’s national library, consists of different libraries that serve purposes of learners and users delving into various subjects. Designed by Henri Labrouste (1801-1875) by the approval of Napolean III, The Salle Labrouste (the Labrouste room) has been well preserved and stored books on printing science and photography for the Bibliothèque de Institut national d'histoire de l'art or the national library of art history. The Labrouste room has 400 seats. Reading and access are free for all.

Beside invaluable collections of books, what sets the Labrouste room apart from other Paris libraries is its mid-19th century architecture. The bravery of using iron columns to create immense 10-metre-high spaces, garnishing with neo-classical art, Henri Labrouste was ahead of his time – much enough to pioneer French industrial design. Not surprisingly, he is today well known as a wizard architect whose talent has magically transpired from rationalism and the fond of natural light.
.
Text by Fused
Picture credit: noepierre on Instagram

 

บทความนี้มาจากเพจ Fused เรื่องชวนคิดจากสังคมอังกฤษและยุโรป

แบ่งปัน :