Makeup remover สามารถกำจัดรอยเปื้อนสียีนส์บนเครื่องหนังได้ดี
Makeup remover สามารถกำจัดรอยเปื้อนสียีนส์บนเครื่องหนังได้ดี
 16 Oct 2019   1219

++Makeup remover สามารถกำจัดรอยเปื้อนสียีนส์บนเครื่องหนังได้ดี++

บ่อยครั้งที่การสวมกางเกงยีนส์กับการสะพายกระเป๋าหนังออกไปนอกบ้านนั้นเป็นอะไรที่ mix and match กันได้เป็นอย่างดี แต่พอกลับมาถึงบ้าน อ้าว!! เจ้ากางเกงยีนส์ใจบุญนั้นดันบริจาคสีอินดิโกลงบนกระเป๋าหนัง (Leather products) จนด่างเป็นรอยสีน้ำเงินเข้มซะนี่!!

สีอินดิโก (indigo dye) ที่ไปติดชาวบ้านเค้านั้นมักจะอยู่ในรูปของเม็ดสี (pigments) ที่ไม่สามารถละลายน้ำออกได้ และถึงละลายน้ำออกได้ การใช้น้ำมาลูบเช็ดเครื่องหนังก็ย่อมไม่ใช่สิ่งดีแน่ เพราะอาจได้รอยด่างซีดกลับไป 

อีกทั้งสีอินดิโกนั้นก็ยังไม่มีหมู่เคมีช่วยละลายน้ำ (solubilizing functional groups) ที่มีประจุลบให้เราเอาเจลใส่ผม (hair styling gel) ดึงออกมาได้เหมือนกับการกำจัดรอยสียัอมธรรมดาที่ตกออกมาได้ด้วย

การใช้น้ำผสมสบู่หรือผงซักฟอกนั้นก็เป็นอันตรายต่อหนังแท้ๆของเราที่แสนจะแพงเสียเหลือเกิน เพราะอาจจะทำให้หนังกระด้างแข็งจากการถูกทำลายชั้นไขมันที่แทรกซึมอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องหนังเราได้ 

การใช้ Makeup remover ที่ปราศจากแอลกอฮอลล์ (alcohol free) ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ทั้งในรูปของครีมอิมัลชันหรือในรูปของ cotton wool pad นั้นก็สามารถใช้ลูบเช็ดบนผลิตภัณฑ์หนังอย่างปลอดภัยได้ดีเลยนะครับ เนื่องจากว่ามีปริมาณไขมันที่ทดแทนในส่วนที่ถูกเช็ดและยังมีสารลดแรงตึงผิวที่มีค่าการชอบน้ำต่ำ (Low HLB surfactants) ที่ช่วยเช็ดเอาคราบสีออกได้ดีเลย (เปรียบเสมือนการเช็ดรอยบรัชออนที่อยู่บนผิวหน้าเรานั่นแหละ!!)

นอกจากประโยชน์ของ Makeup remover ที่สามารถใช้เช็ดคราบเครื่องสำอางออกจากผิวหนังของเราได้ดีแล้ว ก็ยังสามารถใช้เช็ดคราบอินดิโกที่ตกค้างบนผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ได้ดีด้วยนะครับ 

- มหัศจรรย์เมคอัพรีมูฟเวอร์ -
- เช็ดคราบสียีนส์บนเครื่องหนัง -
- ได้ดีพอๆกับเช็ดเครื่องสำอางบนผิวหนังเรา -
- ยีนส์เปื้อนจนต้องเช็ด -

สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความจากลิงก์นี้ด้วยนะครับ

 

ปล. เห็นหลายๆคนบอกว่า ใช้ไปก็เช็ดไม่ออกนะครับ ซึ่งสาเหตุมีดังนี้นะครับ

  1. ปล่อยคราบนานเกินไป จนเกิดการ reduction ของ indigo โดย disulfide bridge ในโปรตีนในหนัง แล้วเกิดการแทรกซึมลึกขึ้น จนเกิดการขังในโพรงหนังสัตว์นะครับ
  2. มีคราบเหงื่อไคลที่เข้าไปเคลือบและทำตัวเป็น binder เคลือบสี โดยที่คราบโปรตีนจากเหงื่อไคลนั้นไม่สามารถละลายหลุดออกมาพร้อมกับการเช็ดด้วย Makeup remover ครับ
  3. การทำความสะอาดหนังสัตว์ ถ้าเอาคราบไม่ออกแล้ว แอดจะไม่แนะนำวิธีที่รุนแรงกว่านั้น เนื่องจากหนังสัตว์จะเสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อโดนสารเคมีรุนแรงครับ

ซึ่งเทคนิคที่แนะนำนั้น ได้ผลเมื่อคราบเกาะใหม่เท่านั้น เนื่องจากหนังสัตว์เป็นวัสดุที่มีโพรงรูพรุนมาก และพร้อมจะหนุนให้เกิดสภาวะรีดักชั่นครับ จึงทำให้ indigo นั้นฝังลึกจนกำจัดไม่ออกครับ 

//ขอบคุณที่เข้าใจนะครับ 

 

บทความนี้มาจากเพจ: เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

แบ่งปัน :
ข่าวอื่นๆ