การใช้อลูมิเนียมฟอยล์ในการทำเมนู
การใช้อลูมิเนียมฟอยล์ในการทำเมนู
 15 Oct 2019   591

จากกรณีที่มีการใช้อลูมิเนียมฟอยล์ในการทำเมนูเล่นๆในการย่างแทนหมูกระทะจากลิงก์นี้นะครับ

 

เนื่องจากว่าอลูมิเนียมฟอยล์ (aluminium foil) นั้นถูกใช้เป็นภาชนะในการปรุงอาหารมาตั้งแต่ปี 1910 ซึ่งก็นับว่าปลอดภัยดี เนื่องจากการทนความร้อนและความเสถียร (stability) ของโลหะ เนื่องจากว่าอลูมิเนียมนั้นมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก จนทำให้พอขึ้นรูปเสร็จนั้นแทบจะเกิดชั้นออกไซด์ที่แสนจะแข็งแกร่งที่พร้อมจะปกป้องโลหะได้ดีเลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม ก็พบว่ามีรายงานว่าในช่วง 50 ปีมานี้ มนุษย์เรานั้นได้รับอลูมิเนียมเพิ่มขึ้นถึง 30 เท่า เนื่องจากบางคนใช้อย่างไม่สนหินสนแดดโดยที่ไม่มีข้อควรระวังหรือใช้แบบผิดๆโดยไม่สนสมบัติทางเคมีของอลูมิเนียมเลย 

อาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง เช่น อาหารที่เป็นกรดที่มีส่วนผสมของน้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ หรือ อาหารที่เกิดความเป็นด่างอย่างรุนแรง เช่น เมนูเบเกอรี่ที่มี baking soda ที่ได้รับความร้อนสูงโดยใช้พิมพ์ของอลูมิเนียมฟอยล์นั้นจะมีผลทำให้อลูมิเนียมนั้นละลายออกมาในอาหารบางส่วน และส่งผลทำให้ผู้บริโภคได้รับอลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว (ซึ่งปริมาณสูงสุดของร่างกายมนุษย์ผู้ใหญ่ที่จะรับได้ต่อวันนั้นจะอยู่ที่ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้น)

หมูหมักที่ซื้อมาย่างนั้นหลายๆคนก็มีผสม baking soda ลงไปเพื่อความนุ่มชุ่มน้ำ (WHC , Water holding capacity) นั้นเมื่อได้รับความร้อนโดยตรงก็จะทำให้ baking soda นั้นกลายสภาพเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และ “โซดาไฟ” เล็กน้อย ซึ่งถ้าจัดการทำเมนูที่ไม่ได้สัมผัสอลูมิเนียมโดยตรงก็ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าเอามานาบร้อนๆกับอลูมิเนียมฟอยล์ตรงๆนั้น นอกจากที่จะได้ความนุ่มชุ่มน้ำแล้ว ก็ยังชุ่มด้วยอลูมิเนียมไอออนอีกด้วย!!! บรื๋อออออออย์ 

มีรายงานว่าการรับอลูมิเนียมมากเกินไปส่งผลทำให้จำนวนสเปริ์มของเพศชายนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ได้ “หมันติดฟอยล์” มาด้วย)

และนอกจากนั้นยังพบว่าอลูมิเนียมนั้นยังมีพิษต่อระบบประสาทของแมลงอย่างผึ้งที่ทำให้ประชากรผึ้งในธรรมชาติลดลง (toxicity ranging from 13 to 200 parts per million (ppm))

ดังนั้นการใช้อลูมิเนียมฟอยล์/หรือภาชนะอลูมิเนียมอื่นๆในอาหารที่ผิดประเภท เช่น หม้ออลูมิเนียมใส่แกงส้ม ต้มยำ หรือ การใช้อลูมิเนียมฟอยล์ย่างหมูกระทะ หรือปลาเผาพร้อมเปลือกมะนาวเพื่อความหอม นั้นหลีกเลี่ยงเสียเถิด มันผิดวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างมากนะครับ เฮ้อ!!

- อย่าใช้งานให้มันแปลกนักเลย
- ควรใช้งานให้เหมาะสม
- ทุกสิ่งมีประโยชน์หากใช้งานอย่างถูกต้อง

 

บทความนี้มาจากเพจ: เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

แบ่งปัน :
ข่าวอื่นๆ